สมถกรรมฐานนั้นตกอยู่ในอำนาจของความทุกข์ ส่วนวิปัสสนากรรมฐานจะพ้นไปจากความทุกข์
(หลวงพ่อเทียน
จิตฺตสุโภ)
ทวนกระแสความคิด
ผู้รู้แจ้งเห็นจริง
มุมมองของหลวงพ่อเทียน
สติ - ความรู้สึกตัว
อาจารย์ผู้เดียวของข้าพเจ้า
พระคุณของหลวงพ่อ
หลวงพ่อเทียนและสิ่งที่ท่านมอบให้
วิปัสสนาจารย์
ทวนกระแสความคิด
อานิสงส์ของการเจริญสติ
สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน
หนทางสู่นิพพาน
การปฏิบัติธรรมโดยไม่มีพิธีรีตอง
ต้นกำเนิดของความคิด
ทางลัดสู่การรู้แจ้ง
สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรมฐาน
ขอเรียนถามหลวงพ่อว่า การปฏิบัติสมถกรรมฐานต่างกับการเจริญสติ หรือการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างไร?
การปฏิบัติสมถกรรมฐาน เช่น การนั่งหลับตาภาวนาพุทโธ นับหนึ่ง-สอง-สาม สัมมาอรหัง ฯลฯ เหล่านี้ ต้องนั่งหลับตา ทำจิตให้เป็นหนึ่ง กำหนดรู้ในอิริยาบถใดอิริยาบถหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น หายใจเข้า บริกรรม “พุท” หายใจออก บริกรรม “โธ” เป็นต้น นี่เป็นอุบายทำให้จิตสงบ เพราะใจจะปิดกั้นตัวของมันเอง มิให้ความคิดหรืออารมณ์ใดๆ เกิดขึ้น มันจึงมีแต่ความสงบ ซึ่งหลวงพ่อเรียกว่า “ความสงบอย่างไม่รู้” เพราะไม่ทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง หลังจากทำความสงบแล้วก็มาพิจารณาอาการ ๓๒ หรืออสุภกรรมฐาน ตัวหลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ตอนปฏิบัติสมถกรรมฐาน คนอื่นจะเข้าใจอย่างไรไม่ทราบ แต่การปฏิบัติสมถกรรมฐานนี้ ไม่สามารถจะไปถึงที่สุดของทุกข์ได้ เพราะจะไปติดอยู่ที่ความสงบ ซึ่งเป็นเครื่องปิดกั้นการไปถึงซึ่งสภาวะอาการ เกิด – ดับ ของจิตใจ
ส่วนการเจริญสติหรือการเจริญวิปัสสนานั้นต่างกันกับการปฏิบัติสมถกรรมฐาน เพราะแยกทางกันเดินตั้งแต่ต้นแล้วคือ การเจริญสติไม่ต้องนั่งหลับตา แต่ให้มีสติรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ คือการเคลื่อนไหว (ทุกอิริยาบถ) ก็ให้รู้ทันทีและรู้อย่างต่อเนื่อง ส่วนใจมันคิดมันนึกหรือมีอารมณ์ใดเกิดขึ้นก็ให้รู้มัน เห็นมัน เข้าใจมัน อย่างนี้จึงจะเรียกว่ารู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจ การเจริญสติจะไม่มีการปิดกั้นความคิดใดๆ ทั้งสิ้น ตรงกันข้ามการเจริญสติเป็นการเปิดจิตใจให้กว้าง เพื่อเผชิญกับทุกสิ่งอย่างกล้าหาญ คือไม่มีการปิดกั้นความคิด แต่ให้เอาสติมาดูความคิด ให้รู้มัน เห็นมันอยู่เสมอ ความคิดจะค่อยๆ ถูกทำลายลง คือความคิดจะสั้นเข้าๆ จนกระทั่งเห็นต้นกำเนิดของความคิด และถึงที่สุดของทุกข์
การเจริญสติให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมทั้งกาย-ใจอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดปัญญา เป็นการรู้แจ้ง รู้จริง เห็นแจ้ง เห็นจริง เป็นปัญญาที่เกิดจากจิตใจที่สะอาด สว่าง สงบ ความรู้-ความเข้าใจนี้ มันรู้โดยไม่ต้องคิด-พิจารณา มันรู้ของมันเอง ผู้ที่รู้ธรรมด้วยปัญญาจะรู้ในสิ่งเดียวกัน เข้าใจเหมือนกัน เป็นขั้นเป็นตอนเหมือนกัน ส่วนผู้ที่ปฏิบัติโดยใช้วิธีสร้างความสงบขึ้นมา โดยที่ความจริงมันไม่ได้สงบ (เรียกว่าความสงบแบบสมถะ) เมื่อออกจากความสงบแล้วก็มาพิจารณาเอา จึงรู้-เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ในบางอย่าง แต่ไม่ใช่ทุกอย่าง (ดูรูปประกอบ)
เส้นแนวตรง คือ อารมณ์จากการเจริญสติมี ๔ ขั้นตอน เส้นประ คือ ความเข้าใจจากการปฏิบัติสมถกรรมฐาน
อารมณ์จากการเจริญสติ ๔ ขั้นตอน (ฌาน ๔) มีดังนี้ คือ
ฌานของวิปัสสนากรรมฐาน ในตำราว่าไว้ดังนี้ คือ
เปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจจากการปฏิบัติสมถกรรมฐานกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน หรือการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภได้ดังนี้
สมถกรรมฐาน
|
การเจริญสติ
|
การปฏิบัติสมถกรรมฐาน สามารถรู้สิ่งเหล่านี้ได้จากการพิจารณาเมื่อออกจากสมาธิหรือออกจากกรรมฐานแล้ว แต่ไม่สามารถรู้ เห็น เข้าใจ สัมผัสสิ่งเหล่านี้ได้เหมือนกับผู้ที่ปฏิบัติการเจริญสติ เพราะขณะที่ปฏิบัติสมถกรรมฐานนั้นไม่ได้เกิดอารมณ์หรือปัญญาขึ้นเลย มีแต่ความสงบเท่านั้นเอง และเมื่อความคิดเกิดขึ้นหรือมีสิ่งใดเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ปฏิบัติกรรมฐานก็จะไม่มีสติรู้สึกตัว จึงไม่เป็นความสงบที่แท้จริง จะเห็นได้ว่าการปฏิบัติโดยวิธีต่างกันย่อมมีผลต่างกันเช่นนี้ คือ ฝ่ายสมถกรรมฐานจะรู้หรือเข้าใจจากการพิจารณาหลังจากสร้างความสงบขึ้น ซึ่งไม่ใช่ความสงบที่ถาวร เพราะถ้าออกจากกรรมฐานหรือออกจากสมาธิเมื่อไรความสงบก็จะหายไป ในการปฏิบัติสมถกรรมฐานผลขั้นสุดท้าย คือ การติดอยู่กับความสงบ ไม่สามารถทำความเข้าใจเรื่องศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ซึ่งตามตำราเรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา อธิปัญญาสิกขา และไม่สามารถก้าวไปจนถึงที่สุดของทุกข์ได้ เพราะติดความสงบ ซึ่งยังเป็นกิเลสประเภทอาสวะ : กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ
ส่วนการเจริญสตินั้น หลังจากรู้ เห็น เข้าใจ สัมผัส โลภะ โมหะ โทสะ; เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ; กิเลส ตัณหา อุปาทา กรรมแล้ว จะรู้ จะเห็นว่าในรูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญาณขันธ์ ต่างก็มีศีล สมาธิ ปัญญาในตัวของมันเองอยู่ครบแล้ว จึงพูดว่าในกาย-ใจ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ (ขันธ์ แปลว่า รองรับ หมวด กลุ่ม) ตอนที่หลวงพ่อรู้ หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ จึงว่ามีสัญญาขันธ์ ซึ่งมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ ไม่ใช่สัญญาจากการเล่าเรียน การจดจำ เมื่อรู้เช่นนี้แล้วจึงเข้าใจเรื่องความสงบว่ามี ๒ อย่างคือ
นอกจากนั้นยังรู้ เห็น เข้าใจ สัมผัสได้เรื่องบุญ-บาป สวรรค์-นรก
เมื่อเราทำดีทางกาย วาจา ใจ แต่ละชนิด หรือการทำดีพร้อมกันทั้ง กาย วาจา ใจ จะเป็นบุญอย่างไร ถ้าสวรรค์มีจริง เราจะขึ้นสวรรค์ชั้นไหน
เมื่อเราทำชั่วทางกาย วาจา ใจ แต่ละชนิด หรือการทำชั่วพร้อมกันทั้ง กาย วาจา ใจ จะเป็นบาปอย่างไร ถ้านรกมีจริง เราจะตกนรกขุมไหน
เมื่อปฏิบัติการเจริญสติจนถึงอารมณ์ขั้นสุดท้ายจึงจะถึงที่สุดของทุกข์ เพราะจะได้พบกับสภาวะอาการ เกิด -ดับ ของจิตใจ ทำให้หลุดพ้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะเป็นไปตามขั้นตอนดังนี้
อายตนะทั้ง ๖ ทำหน้าที่ของมันตามธรรมชาติที่ไม่มีการปรุงแต่ง อายตนะภายนอกและอายตนะภายในติดต่อกันไม่ได้อีกต่อไป คือมันขาดจากกัน การที่กายและใจกลับสู่สภาพเดิมของมันเช่นนี้ เราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย เพราะมันเกิดขึ้นรวดเร็วยิ่งกว่าสายฟ้าแลบ